คำอธิบายรายวิชา

วิชา ภาษาไทย  ๖  รหัส ท๒๓๑๐๒                                         กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๓  ภาคเรียนที่  ๒       เวลา  ๖๐  ชั่วโมง   จำนวน  ๑.๕  หน่วยกิต
.............................................................................................................................................
              อ่านออกเสียงร้อยแก้วและร้อยกรอง อ่านจับใจความ การอ่านตามความสนใจ วิเคราะห์ วิจารณ์ ประเมินค่า ตีความ เขียนกรอบแนวคิด ผังความคิด มีมารยาทในการอ่าน เขียนอธิบายชี้แจงแสดงความรู้ ความคิดเห็น วิเคราะห์วิจารณ์ โต้แย้ง การกรอกแบบสมัครงาน เขียนรายงาน เขียนงานโครงงาน มารยาทในการเขียน พูดแสดงความคิดเห็น วิเคราะห์วิจารณ์ ประเมินเรื่องจาก การฟังและการดู พูดในโอกาสต่าง ๆ พูดโน้มน้าวได้อย่างมีเหตุผลและน่าเชื่อถือ ใช้คำทับศัพท์ ศัพท์บัญญัติ คำศัพท์ทางวิชาการได้ แต่งโคลงสี่สุภาพ ได้ไพเราะถูกต้องตามฉันทลักษณ์ วิเคราะห์วิถีไทย   บอกคุณค่า สรุปความรู้ ข้อคิดจากวรรณคดีและวรรณกรรม เลือกท่องจำ และบอกคุณค่า บทอาขยานที่กำหนด และบทร้อยกรองตามความสนใจ
                   ใช้กระบวนทางภาษาในการสื่อสารโดยการอ่านออกเสียง อ่านจับใจความสำคัญ อ่านตามความสนใจ ระบุ วิเคราะห์ วิจารณ์ ประเมินค่า ตีความ เขียนกรอบแนวคิด ผังความคิด ด้านการเขียนโดยเขียนอธิบาย ชี้แจง แสดงความรู้ ความคิดเห็น วิเคราะห์ วิจารณ์ โต้แย้ง กรอกแบบสมัครงาน เขียนรายงาน โครงงาน ด้านการฟัง การพูดและการดูโดยการพูดในโอกาสต่าง ๆ พูดโน้มน้าว   ด้านหลักการใช้ภาษา โดยการใช้คำทับศัพท์ ศัพท์บัญญัติ คำศัพท์ทางวิชาการ แต่งโคลงสี่สุภาพ   ด้านวรรณกรรมและวรรณคดี โดยการสรุปความรู้ ข้อคิด นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ท่องจำ   คำประพันธ์ที่ไพเราะ   
                   เพื่อให้เกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านวิชาภาษาไทย มีทักษะการใช้ภาษาในการสื่อสาร มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การพูดและการดู มีคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน มีวินัย รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ

รหัสตัวชี้วัด
                   ท ๑.๑   ม ๑/๑, ม ๑/๒, ม ๑/๓, ม ๑/๔, ม ๑/๕, ม ๑/๖, ม ๑/๗, ม ๑/๘, ม ๑/๙, ม ๑/๑๐
                   ท ๒.๑  ม ๒/๖, ม ๒/๗, ม ๒/๘, ม ๒/๙, ม ๒/๑๐
                   ท ๓.๑   ม ๓/๑, ม ๓/๒, ม ๓/๔, ม ๓/๕, ม ๓/๖
                   ท ๔.๑   ม ๔/๔, ม ๔/๕, ม ๔/๖
                   ท ๕.๑   ม ๕/๑, ม ๕/๒, ม ๕/๓, ม ๕/๔
รวมทั้งหมด  ๒๗  ตัวชี้วัด