การเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า
การเขียนรายงาน คือ
การเขียนเสนอผลโดยใช้ข้อมูลที่มีเหตุผลและน่าเชื่อถือ
สามารถนำไปประกอบการค้นคว้าและอ้างอิงได้ มีหลักการเขียน ดังนี้
๑. รูปแบบ ต้องจัดให้เป็นระเบียบแบ่งเป็นบท ตอน
หรือย่อหน้าตามลำดับเนื้อหาที่เชื่อมโยงกัน พร้อมระบุบอกแหล่งที่มาของข้อมูล
๒. เนื้อหา เน้นความรู้มากกว่าความคิดเห็น
หากมีความคิดเห็นต้องผ่านการพิสูจน์ว่าไม่มีข้อขัดแย้ง
๓. ระดับภาษา ใช้ภาษามาตรฐาน เป็นทางการ
บางคำอาจใช้ศัพท์ทางวิชาการโดยเฉพาะ
๔. กลวิธีในการเขียน ควรเขียนให้เหมาะสมกับผู้อ่าน
และชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจน เช่น เป็นการเขียนเชิงวิชาการล้วน ๆ
หรือกึ่งวิชาการ
๕. การอ้างอิง คือ การเขียนแหล่งที่มาของข้อมูลเพื่อให้เกียรติเจ้าของความรู้เดิม
ทำได้ ๓ วิธี ได้แก่
๕.๑ การกล่าวแทรกในเนื้อหา คือ การอ้างอิงที่บอกชื่อผู้แต่ง
ปีที่พิมพ์ และเลขหน้าไว้ในวงเล็บหลังข้อความที่ยกมา แล้วเขียนรายการเอกสารเป็นบรรณานุกรมไว้ตอนท้ายเรื่อง
๕.๒ การกล่าวโดยวิธีทำเชิงอรรถ คือ
การอ้างอิงที่ใส่เลขกำกับไว้ที่ข้อความ
แล้วบอกแหล่งที่มาไว้ด้านล่างสุดของหน้านั้น ๆ ตามลำดับตัวเลข
ข้อความที่อยู่ล่างสุดนี้เรียกว่า เชิงอรรถ
๕.๓ อ้างอิงด้วยการทำบรรณานุกรม คือ
การอ้างอิงรายชื่อแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการเขียน โดยเรียงลำดับจากชื่อผู้แต่ง
(ลำดับตามพจนานุกรม) ชื่อหนังสือ ครั้งที่พิมพ์ (ยกเว้นพิมพ์ครั้งแรก)
สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ และปีที่พิมพ์
ส่วนประกอบของรายงาน
๑. ส่วนต้นหรือส่วนนอก ประกอบด้วย ๔ ส่วน คือ ปกนอก ปกใน คำนำ
และสารบัญ
๒. ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย ๓ ส่วน คือ บทนำ เนื้อหา และสรุป
๓. ส่วนท้าย ประกอบด้วย ภาคผนวก บรรณานุกรม และอภิธานศัพท์
ขั้นตอนการเขียนรายงาน
ขั้นตอนการเขียนรายงาน
เรียงตามลำดับดังต่อไปนี้
ขั้นที่ ๑ เลือกหัวข้อเรื่อง
ขั้นที่ ๒ กำหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขตของเรื่อง
ขั้นที่ ๓ ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล
ขั้นที่ ๔ วางโครงเรื่อง
ขั้นที่ ๕ ลงมือเขียนรายงาน
ขั้นที่ ๖ เขียนเชิงอรรถและบรรณานุกรม
ขั้นที่ ๗ การนำเสนอรายงาน
การเรียงลำดับของรูปแบบรายงาน
การจัดรูปแบบการเขียนรายงาน
เรียงลำดับตามนี้
1.หน้าปก
2.หน้ารองปก
(กระดาษเปล่า)
3.หน้าปกใน
(รายละเอียดเหมือนหน้าปกแต่ใช้กระดาษสีขาว)
4.คำนำ
5.สารบัญ
6.เนื้อเรื่อง
7.บรรณานุกรม
หรือ เอกสารอ้างอิง
8.ภาคผนวก
9.รองปกหลัง
(กระดาษเปล่า)
10.
หน้าปกหลัง
ตัวอย่างปกรายงาน
การเขียนคำนำรายงาน
การเขียนคำนำรายงานมีวิธีการเขียน
ดังนี้
การเขียนคำนำรายงานนั้นในส่วนของย่อหน้าแรกเราควรเขียนเพื่อเกริ่นเนื้อเรื่องไปก่อนโดยยังไม่เข้าเนื้อเรื่อง
แต่ควรพยายามพูดชักจูงให้ผู้อ่านสนใจ หรือพูดที่มาที่ไป ก่อน เพื่อให้
ผู้อ่านอยากติดตามต่อ
ส่วนต่อมาควรกล่าวเริ่มเข้าเนื้อเรื่องของเราว่าเราจะทำรายงานเกี่ยวกับอะไร
และมีเรื่องอะไรบ้างหรือพูดถึงเฉพาะเรื่องสำคัญๆ ก็ได้ และตอนสุดท้ายก็ปิดท้ายว่าทำเพื่ออะไร
เพื่อประโยชน์กับใครที่จะได้มาอ่าน บทความนี้
และก็อาจกล่าวขอบคุณอาจารย์ผู้สอนหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับรายงาน
และปิดท้ายด้วยการขอรับข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อให้รายงานดีขึ้น
คำนำ
รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชา…….....................................รหัส.....................ชั้นมัธยมศึกษาปีที่.............เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่อง…….........................และได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์กับการเรียนต่อไป
ซึ่งประกอบไปด้วยความเป็นมา
ประวัติผู้แต่ง ลักษณะคำประพันธ์ เรื่องย่อ
เนื้อเรื่อง คำศัพท์ บทวิเคราะห์ (คุณค่าด้านเนื้อหา คุณค่าด้านวรรณศิลป์
คุณค่าด้านสังคมและสะท้อนวิถีไทย) ข้อคิดที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
รายงานเล่มนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยความกรุณาและความอนุเคราะห์จาก
........................................และ ..................................................
ที่กรุณาสละเวลาอันมีค่าให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่างๆ
ตั้งแต่เริ่มต้นจนสำเร็จเรียบร้อย ผู้จัดทำขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง
ขอกราบขอบพระคุณบิดาและมารดา ผู้ให้กำเนิดและเป็นครูคนแรกที่คอยอบรมสั่งสอน
ชี้แนะแนวทางในการดำเนินชีวิต และเป็นกำลังใจยิ่งใหญ่แก่ผู้จัดทำมาโดยตลอดมา
ขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้
ผู้จัดทำหวังว่า
รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือนักเรียน นักศึกษา
ที่กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใด
ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
นายทินภัทร ทุราช
ผู้จัดทำ
วันที่…………….
สารบัญ
บรรณานุกรม
บรรณานุกรม
(Bibliography) คือ
หน้าหนังสือที่รวบรวมรายชื่อของหนังสือและเอกสารต่างๆ
ที่นำมาใช้อ้างอิงในการทำรายงาน รายการวัสดุสารนิเทศ อันได้แก่สื่อสิ่งพิมพ์
สื่อโสตทัศนวัสดุ สื่ออิเล็กทรอนิกส์
รวมทั้งแหล่งข้อมูลอื่นๆที่ผู้เขียนนำมาใช้อ้างอิงซึ่งปรากฏเป็นรายการอ้างอิง(citations)อยู่ในเนื้อหาของรายงานหรือภาคนิพนธ์นั้นๆโดยมีรายละเอียดทางบรรณานุกรมของแหล่งข้อมูลเหล่านั้นอย่างครบถ้วนสำหรับให้ผู้สนใจใช้ตรวจสอบหรือไปศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้ในห้องสมุดหรือแหล่งสารนิเทศอื่นๆ

ภาษาไทย ม. 3 เรื่อง การพัฒนาทักษะการเขียน. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2561.
จาก http://www.trueplookpanya.com/learning/detail/31730
https://sites.google.com/site/informationsysteminbussiness/tawxyang-rayngan?tmpl=%2Fsystem%2Fapp%2Ftemplates%2Fprint%2F&showPrintDialog=1
หัวข้อเรื่อง : การเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า
วันที่พิมพ์ : 21 พฤศจิกายน 2561
https://sites.google.com/site/informationsysteminbussiness/tawxyang-rayngan?tmpl=%2Fsystem%2Fapp%2Ftemplates%2Fprint%2F&showPrintDialog=1
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
ผู้เรียบเรียง : พรหมพชร เกตดี หัวข้อเรื่อง : การเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า
วันที่พิมพ์ : 21 พฤศจิกายน 2561